วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Punctuation Marks (เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ)

 


Punctuation Marks หรือ เครื่องหมายวรรคตอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการเขียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากในทุกประโยคภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วย Punctuation Marks ทั้งสิ้น ซึ่งเราสามารถจำแนก Punctuation Marks ได้ดังนี้
1. Period / Full stop ( . ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาค   -ใช้เมื่อจบประโยคในประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำสั่ง
   -ใช้หลังอักษรย่อต่างๆหรือคำย่อ เช่น Dr.(Doctor), Mr.(Mister) และอื่นๆ

2. Comma ( , ) หรือ เครื่องหมายจุลภาค/เครื่องหมายลูกน้ำ)
- ใช้คั่นเพื่อแยกคำนามซ้อน เช่น Thailand, a country in Asia, is famous for its beautiful temples.
- ใช้แยกระหว่างคำที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น I want a car, a motorcycle, and a bicycle.
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่บอกสี เช่น a blue, yellow bicycle
- ใช้แยกคำคุณศัพท์ที่ตามหลังคำนาม เช่น My girlfriend is slim, tall, and beautiful.
- คั่นข้างหน้าหรือข้างหลังชื่อ เช่น
   Christina, where have you been?  
  What would you like to eat, Lita?
- คั่นประโยคที่ตามหลัง Yes, No และ Well ที่ขึ้นต้นประโยค เช่น
   Are you Thai? Yes, I am.
   Well, I'm not sure if I can do that.
- ใช้เพื่อแยกข้อความในประโยคคำพูด เช่น He said, "They are happy."
- คั่นระหว่างปีที่ตามหลังเดือน, ถนนกับเมือง, เมืองกับประเทศ เช่น
Today is May 4th, 2008.Tang lives at 76 Satorn Road, Bangkok.

3. Semi-colon ( ; ) หรือ เครื่องหมายอัฒภาค
- ใช้คั่นประโยคที่มีเครื่องหมาย comma คั่นอยู่แล้ว เช่น Hello, Nittaya; Please come here.
- ใช้ทำหน้าเพื่อเชื่อมประโยคสองประโยคที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกันวางไว้หน้าadverbs ได้แก่
therefore (ดังนั้น) besides (นอกจากนี้) เป็นต้น เช่น
Canada is very cold; therefore people must wear heavy coats in the winter.

4. Colon ( : ) หรือ เครื่องหมายมหัพภาคคู่/เครื่องหมายทวิภาค
- ใช้ colon ก่อนการประโยคอธิบาย เช่น He decided to buy a car: he had to travel to the remote area.
- ใช้แจ้งรายการ ซึ่งนิยมใช้หลังคำเหล่านี้ the following หรือ as follows เป็นต้น เช่น We require the following for our camping trip: tent, bags, and boots.

5. Exclamation Mark ( ! ) หรือ เครื่องหมายอัศเจรีย์
ใช้หลังคำอุทานหรือประโยคอุทาน เช่นOh! you are so beautiful. Watch out! Go away!  
6. Apostrophe ( ' ) หรือ เครื่องหมายวรรคตอน
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามทั้งนามเอกพจน์และนามพหูพจน์ เช่น The doctor's car, The men's club, Somkiet's dog
- ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของคำนามพหูพจน์ที่เติม s หรือชื่อเฉพาะที่มี s เช่น The girls' books, Charles' school
- ใช้สำหรับย่อคำ เช่น can't (can not), it's (it is), I'd rather (I would rather)  
7. Question Mark ( ? ) หรือ เครื่องหมายปรัศนี
ใช้กับประโยคคำถาม เช่น Is that food hot?
8. Quotation Marks ( " " ) หรือ เครื่องหมายอัญประกาศ
ใช้เขียนคร่อมข้อความที่เป็นประโยคคำพูด เช่น 
   He said, "I am going home." "I can help you move," Narong volunteered.
9. Hyphen ( - ) หรือ เครื่องหมายยติภังค์
ใช้เพื่อเชื่อมคำสองคำให้เป็นคำเดียวกัน เช่น ex-husband, anti-American two-day holiday  
10. Dash ( -- ) หรือ เครื่องหมายเส้นประ
ใช้เพื่อเน้นข้อความที่แทรกเข้ามาเพื่ออธิบายหรือใช้คั่นคำละไว้ในฐานที่เข้าใจหรือเปลี่ยนใหม่ เช่น   
I got lost, forgot my bag, and missed my plane-- it was a terrible trip.
If I had a lot of money, I would --Oh, what am I thinking? I will never be rich.

11. Oblique / Slash ( / ) หรือ เส้นแบ่ง
ใช้แทรกระหว่างประโยคเพื่อแทนคำว่า หรือ เช่น
Please insert your card/cash into the machine.






             
 

การใช้ Infinitive with/without to




Infinitives คือ รูปกริยาภาษาอังกฤษ ที่แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ
Infinitive with to (กริยาช่องที่ 1 ที่ต้องมี to นำหน้า)
Infinitive without to (กริยาช่องที่ 1 ที่ไม่จำเป็นต้องมี to นำหน้า)

ตำแหน่งของ Infinitive with to ในประโยคต่างๆ

1. ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามซึ่งเป็นประธานของประโยค โดยมีความหมายว่า “การ” หรือ “ความ”

   
     To be a millionaire is my goal. (การได้เป็นเศรษฐีเป็นเป้าหมายของฉัน)
2. ใช้ตามหลังคำนาม หรือ สรรพนาม โดยทำหน้าที่คล้ายกับ Adjective ขยาย คำนาม หรือ สรรพนามนั้นๆ
     I told him about the plan to surprise her. (ฉันบอกเขาเกี่ยวกับแผนการที่จะทำให้เธอประหลาดใจ)
     I have something to tell you. (ฉันมีบางอย่างจะบอกคุณ)
3. ใช้ตามหลัง Main verb (กริยาแท้) โดยทำหน้าที่คล้ายกรรมของประโยค
     I want to see him. (ฉันต้องการจะเจอเขา
4. ใช้ตามหลัง Adjective บางตัว โดยทำหน้าที่คล้ายกับ Adverb
     I’m happy to meet you again. (ฉันรู้สึกมีความสุขที่ได้พบกับคุณอีกครั้ง
5. ใช้ตามหลัง who, what, where, when, why, how และ whether
     I wonder why we don’t have money. (ฉันสงสัยว่าเงินเราหมดได้อย่างไร)
     Please tell me where to go. (ช่วยบอกฉันทีว่าจะไปไหน)
รูปแบบต่างๆของ Infinitive with to


       Simple Infinitive (to + V.1) เช่น to go, to buy

       Perfect Infinitive (to + have + V.3) เช่น to have seen, to have been

       Passive Infinitive (to + be + V.3) เช่น to be written, to be taught

       Perfect Passive Infinitive (to + have + been + V.3) เช่น to have been slept, to have been watched
หลักการใช้ Infinitive with to
1. เรามักใช้ Infinitive with to หลังกริยาเหล่านี้
accept (ยอมรับ)
hope (หวัง)
allow (อนุญาต)
intend (ตั้งใจ)
afford (สามารถที่จะ)
learn (เรียน)
agree (ตกลง, ยินยอม)
lead (นำ,ชักจูง)
appear (ปรากฏ)
manage (จัดการ)
arrange (เตรียมการ)
mean (ตั้งใจ)
ask (ถาม)
offer (เสนอ,ให้)
attempt (พยายาม)
order (สั่ง)
care (เป็นห่วง,ดูแล)
plan (วางแผน)
choose (เลือก)
persuade (ชักชวน)
claim (อ้าง)
prepare (เตรียม)
cause (ทำให้เกิด)
pretend (เสแสร้ง)
challenge (ท้าทาย)
promise (สัญญา)
command (สั่งการ)
refuse (ปฏิเสธ)
decide (ตัดสินใจ)
remind (เตือน)
demand (ต้องการ)
seem (ดูท่าทาง)
deserve (ควรค่า)
swear (สาบาน)
encourage (ส่งเสริม)
teach (สอน)
except (ยกเว้น)
tell (บอก)
hope (หวัง)
tend (ค่อนข้าง,มีแนวโน้ม)
fail (ล้มเหลว)
threaten (คุกคาม)
force (บังคับ)
urge (กระตุ้น)
learn (เรียน)
vow (สาบาน,รับปาก)
get (ได้)
warn (เตือน)
instruct (สั่งสอน)
want (ต้องการ)
invite (เชิญชวน)
wish (ปรารถนา)
happen (เกิดขึ้น)
yearn (หวนหา)
hesitate (ลังเล)

2. รูป negative infinitive สร้างขึ้นโดยการเติม not ข้างหน้า to ซึ่งเป็น not to + V1 เช่น
     Try not to be late.
     I decided not to become an electrician.
3. คำว่า ought และ used ต้องตามด้วย Infinitive with to
     You ought to do your homework by yourself.
     I used to play cricket 5years ago.
4. ใช้ be to + V1 หรือ have to + V1 เมื่อต้องการเน้น หรือเป็นการออกคำสั่ง คำขอร้อง เช่น
     I am to go now (be + to + V1 = ต้อง)
     You have to be in my office by ten thirty.

หลักการใช้ Infinitive without to


1. ใช้ตามหลัง Modal Auxiliary Verbs เช่น will, shall, would, should, can, could
may, might, must และอื่นๆ ซึ่งจะต้องเป็นกริยาช่องที่ 1 เท่านั้น
     She must love him very much. (เธอต้องรักเขามากๆแน่เลย)
     I would buy it if I had money. (ฉันคงจะซื้อมันไปแล้ว ถ้าฉันมีเงิน)
2. ใช้หลัง had better, would rather, would sooner, rather than, but, and, or, except
    You’d better go to the hospital. (เธอควรจะไปโรงพยาบาลนะ)
     I went to the school and talked to my teacher. (ฉันไปโรงเรียนและคุยดับคุณครู)
3. ใช้หลัง please, help, let, make, see, hear, feel, watch, notice
     I don’t feel confident when I speak English. (ฉันรู้สึกไม่มั่นใจเลยในเวลาที่ฉันพูดภาษาอังกฤษ)


การใช้ Conjunctions



and(และ)
ใช้เชื่อมข้อความคล้อยตาม กันสอดคล้องกันหรือเป็นไปทำนองเดียวกัน เช่น
We eat with fork and a spoon.
Tina and Tom are playing football.

or (หรือ)
ใช้เชื่อมข้อความเพื่อเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
Is your house big or small?
Would you like tea or coffee?

but (แต่)
ใช้เชื่อมข้อความที่ขัดแย้งกัน เช่น
That house is beautiful but very expensive.
I can ride a bicycle but I can’t ride a horse.

because(เพราะว่า) ใช้เชื่อมข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกันโดยbecauseจะนำหน้าประโยคที่เป็นสาเหตุ
I like my sister because she is pretty.
She can pass the exam because she studies hard.

so(ดังนั้น)ใช้เชื่อมข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกันโดยsoจำนำหน้าประโยคที่เป็นผล
Cathy eats a lot so she is fat.
My sister is pretty so I like her.

either….or(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งใน2อย่าง)ถ้านำมาเชื่อมประโยคในส่วนที่เป็นประธานจะ
ใช้คำกริยาตามประธานตัวหลัง เช่น
Either you or he is wrong.
You can get either this pen or that pencil.

neither …….nor(ไม่ทั้ง2อย่าง)ถ้านำมาเชื่อมประโยคในส่วนที่เป็นประธานจะ ใช้คำกริยาตามประธานตัวหลัง


เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษ
การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1) Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
            - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น 3   กิจกรรม คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)  
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)


คำศัพท์เกี่ยวกับอาหารไทย

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Vocabulary)




ประเภทต้ม
Mild soup with vegetables and pork
Mild soup with vegetables, pork and bean curd
Soup with chicken, galanga root and coconut
Prawn and lemon grass soup with mushrooms
Fish-ball soup
Rice soup with fish/chicken/shrimp
แกงจืด
แกงจืดเต้าหู้
ต้มข่าไก่
ต้มยำกุ้ง
แกงจืดลูกชิ้น
ข้าวต้มปลา/ไก่/กุ้ง

ไข่
Hard-boiled egg
Fried egg
Plain omelet
Omelet with vegetables
Scrambled egg
ไข่ต้ม
ไข่ดาว
ไข่เจียว
ไข่ยัดไส้
ไข่กวน

ก๋วยเตี๋ยว
Wide rice noodle soup with vegetables and meat
Wide rice noodles with vegetables and meat
Thin rice noodles fried with tofu, vegetable, egg and peanuts
Fried thin noodles with soy sauce
Wheat noodles in broth with vegetables and meat
Wheat noodles with vegetables and meat
ก๋วยเตี๋ยวน้ำ
ก๋วยเตี๋ยวแห้ง
ผัดไทย
ผัดซีอิ้ว
บะหมี่น้ำ
บะหมี่แห้ง

อาหารจานเดียวประเภทข้าว
Fried rice with pork/chicken/shrimp
Boned, sliced Hainan-style chicken with marinated rice
Chicken with sauce over rice
Roast duck over rice
Red BBQ pork with rice
Curry over rice
ข้าวผัดหมู/ไก่/กุ้ง
ข้าวมันไก่
ข้าวหน้าไก่
ข้าวหน้าเป็ด
ข้าวหมูแดง
ข้าวแกง

ประเภทแกง
Hot Thai curry with chicken/beef/pork
Rich and spicy, Muslim-style curry with chicken/beef and potatoes
Mild, Indian-style curry with chicken
Hot and sour, fish and vegetable ragout
Green curry with fish/chicken/beef
Savory curry with chicken/beef
Chicken curry with bamboo shoots
Catfish curry
แกงเผ็ดไก่/เนื้อ/หมู
แกงมัสมันไก่/เนื้อ
แกงกะหรี่ไก่
แกงส้ม
แกงเขียวหวานปลา/ไก่/เนื้อ
แกงพะแนงไก่/เนื้อ
แกงไก่หน่อไม้
แกงปลาดุก

อาหารทะเล
Steamed crap
Steamed crap claws
Shark-fin soup
Crisp-fried fish
Fried prawns
Batter-fried prawns
Grilled prawns
Steamed fish
Grilled fish
Whole fish cooked in ginger, onions
Sweet and sour fish
Cellophane noodles barked with crap
Spicy fried squid
Roast squid
Oysters fried in egg batter
Squid
Shrimp
Fish
Catfish
Freshwater eel
Saltwater eel
Tilapia
Spiny lobster
Green mussel
Scallop
Oyster
ปูนึ่ง
ก้ามปูนึ่ง
หูฉลาม
ปลาทอด
กุ้งทอด
กุ้งชุบแป้งทอด
กุ้งเผา
ปลานึ่ง
ปลาเผา
ปลาเจี๋ยน
ปลาเปรี้ยวหวาน
วุ้นเส้นอบปู
ปลาหมึกผัดเผ็ด
ปลาหมึกย่าง
หอยทอด
ปลาหมึก
กุ้ง
ปลา
ปลาดุก
ปลาไหล
ปลาหลด
ปลานิล
กุ้งมังกร
หอยแมลงภู่
หอยพัด
หอยนางรม

อื่น ๆ
Stir-fried mixed vegetables
Spring rolls
Beef in oyster sauce
Duck soup
Roast duck
Fried chicken
Chicken fried in holy basil
Grilled chicken
Chicken fried with chilies
Chicken fried with cashews
Morning-glory vine fried in garlic, chili and bean sauce
'Satay' or skewers of barbecued meat
Spicy green papaya salad
Noodles with fish curry
Prawns fried with chilies
Chicken fried with ginger
fried wonton
Cellophane noodle salad
Spicy chicken or beef salad
Hot and sour, grilled beef salad
Chicken with bean sprouts
Fried fish cakes with cucumber sauce
ผัดผักรวม
เปาะเปี๊ยะ
เนื้อผัดน้ำมันหอย
เป็ดตุ๋น
เป็ดย่าง
ไก่ทอด
ไก่ผัดใบกะเพรา
ไก่ย่าง
ไก่ผัดพริก
ไก่ผัดเม็ดมะม่วง
ผักบุ้งไฟแดง
สะเต๊ะ
ส้มตำ
ขนมจีนน้ำยา
กุ้งผัดพริกเผา
ไก่ผัดขิง
เกี๊ยวกรอบ
ยำวุ้นเส้น
ลาบไก่/ลาบเนื้อ
ยำเนื้อ
ไก่สับถั่วงอก
ทอดมันปลา

หลักการใช้ Past Perfect Tense

 

  1. ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง 2 เหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย…
    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อน จะใช้ Past Perfect Tense

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลัง จะใช้ Past Simple Tense

    We had gone out before he came.
    (เราออกไปข้างนอกกันแล้วก่อนที่เขาจะมา)
  2. Past Perfect Tense มักจะใช้กับคำว่า before, after, already, just, yet, until, till, as soon as, when, by the time, by… (เช่น by this month) และอื่นๆ โดยจะมีอาจวิธีการใช้ต่างกันไป เช่น
  • Before + Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
Before I went to the school, I had had a car accident.
(ก่อนที่ฉันจะไปโรงเรียน ฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์)
  • After + Past Perfect Tense + Past Simple Tense เช่น
After I had finished my homework, I went to the Internet Café.
(หลังจากที่ฉันทำการบ้านเสร็จ ฉันก็ไปยังร้านอินเตอร์เน็ต)
  • By the time + Past Simple Tense + Past Perfect Tense เช่น
By the time he came here, I already had finished my dinner.
(ตอนที่เขามาถึง ฉันก็กินข้าวมื้อเย็นของฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

วิธีการสร้างประโยค Past Perfect Tense

ครงสร้าง
Subject + had + Verb 3
ประโยคบอกเล่า
Theyhadgoneto the shopping mall.
Shehad foundher wallet.
ครงสร้าง
Subject + had + not + Verb 3
ประโยคปฏิเสธ
Theyhadnotgoneto the shopping mall.
SheHadnotfoundher wallet.
ครงสร้าง
Had + Subject + Verb 3?
ประโยคคำถาม
Hadtheygoneto the shopping mall?
Hadshefoundher wallet?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + had + Verb 3?
ประโยคคำถาม
Wh-
Where
hadthey gone?
What
hadshe found?
                      *คำปฏิเสธรูปย่อของ had not คือ hadn’t

หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense

หลักการใช้ Future Perfect Continuous Tense

  1. มีวิธีการใช้เหมือนกับ Future Perfect Tense ต่างกันเพียงตรงที่ Future Perfect Continuous Tense นั้น เน้นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่ ดำเนินอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งและยังคงจะดำเนินต่อไปอีกในอนาคต โดยมักใช้กับ for + เพื่อแสดงระยะเวลาของเหตุการณ์ หรือ การกระทำนั้นๆ เช่น
 
By 2012, we will have been living in Bangkok for 7 years.
(ในปี 2012 ก็จะครบรอบที่เราออยู่ในกรุงเทพเป็นเวลา 7 ปีแล้ว)
 
 
In 5 minutes, I will have been working for 12 hours.
(ในอีกห้านาทีนี้ ผมก็จะทำงานครบ 12 ชั่วโมงพอดี)
 
  1. ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ ต้องการเน้นความต่อเนื่องของการกระทำใดการกระทำหนึ่งในอนาคต โดย…
 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน จะใช้ Future Perfect Continuous Tense
 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง จะใช้ Present Simple Tense
 
เช่น He shall have been cleaning his room for an hour when I visit him.
(เขาน่าจะกำลังทำความสะอาดห้องของเขาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงแล้วในตอนที่ฉันไปหาเขา)
 
 

วิธีการสร้างประโยค Future Perfect Continuous Tense

 
 
โครงสร้าง
 
 
Subject + will + have + been + V.-ing
 
ประโยคบอกเล่า
Youwill/shall have beenbakingfor one hour by 6 o’clock.
Hewill/shall have been joggingfor two hours by the time I wake up.
 
โครงสร้าง
 
 
Subject + will + not + have + been + V.-ing
 
ประโยคปฏิเสธ
Youwill/ shallnothavebeenbakingfor one hour by 6 o’clock.
Hewill/ shallnothavebeenjoggingfor two hours by the time I wake up.
 
โครงสร้าง
 
 
Will + Subject + have + been + V.-ing?
 
ประโยคคำถาม
Will/shallyouhavebeen bakingby 6 o’clock?
Will/shallhehave been joggingby the time I wake up?
 
โครงสร้าง
 
 
Who/What/Where/When/Why/How + will + Subject + have + been + V.-ing?
 
ประโยคคำถาม
Wh-
How long
will/shallyouhave been baking by 6 o’clock?
What
will/shallhe have been doing by the time I wake up?
animated,display picture,display pictures,picture.graphic,paint.picture,displays,logo design,animate,graphics,background,cartooning,flash,images,ภาพเคลื่อนไหว ,ภาพเคลื่อนไหวน่ารักๆ,ภาพดุ๊กดิ๊ก 
*คำปฏิเสธรูปย่อของ will/shall not คือ won’t และ shan’t
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Tell the time in english




การอ่านเวลาในภาษาอังกฤษ (How to read time)
  

การอ่านเวลา สามารถแบ่งออกเป็นสองวิธีด้วยกัน คือ

ระบบเวลาแบบ 12 ชั่วโมง (12-hour clock) เป็นวิธีการบอกเวลาที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไป โดยใช้เลข 1 ถึง 12 ตามด้วย a.m. (ante meridiem) หรือ p.m. (post meridiem) ต่อท้าย โดยมีหลักการอ่านดังนี้
หากเป็นเวลาเต็มชั่วโมง ให้เติมคำว่า “O’clock” ตามหลังเลขชั่วโมงนั้นๆได้ และ หากเราต้องการย้ำถึงเวลา ก็อาจจะเติมคำว่า “sharp” ลงไปด้วย เช่น
It’s six O’clock now. = ขณะนี้เป็นเวลาหกนาฬิกา
See you tomorrow at six o’clock sharp = แล้วเจอกันพรุ่งนี้ ตอนหกโมงตรง
หากเป็นเวลาที่ผ่านชั่วโมงมาแล้ว แต่ไม่เกินสามสิบนาที ให้ใช้คำว่า “past” เข้ามาช่วยในการบอกเวลา เช่น
6.10 = Ten (minutes) past six / Six ten
6.15 = A quarter past six / Six fifteen
6.30 = Half past six / Six thirty
หากเป็นเวลาที่ผ่านชั่วโมง และเกินสามสิบนาทีมาแล้ว ให้ใช้คำว่า “to” เข้ามาช่วยในการบอกเวลา เช่น
6.45 = A quarter to seven / Six forty-five
6.50 = Ten (minutes) to seven / Six fifty
6.35 = Twenty-five (minutes) to seven / Six thirty-five
การอ่านเวลาแบบระบุเวลาเช้า เย็น เป็นวิธีที่ง่าย และมีความชัดเจนในการสื่อสาร ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น
4.45 p.m. = four forty-five in the evening
4.00 a.m. = four o’clock in the morning
* หากเป็นเวลาเที่ยงตรงพอดีจะใช้คำว่า “at noon หรือ midday” และหากเป็นเวลาเที่ยงคืนตรง ก็จะใช้คำว่า “at midnight”
ระบบเวลาแบบ 24 ชั่วโมง (24-hour clock) เป็นวิธีการบอกเวลาที่ใช้ในหมู่ทหาร หรือ ในการประชุมทางการต่างๆ เพื่อป้องกันการสับสนในการบอกเวลา โดยใช้เลข 1 ถึง 23 และ เลข 00 ในเวลาเที่ยงคืน และไม่มี a.m. / p.m. ตามหลัง โดยมีวิธีการอ่านเวลาที่ต่างไปจากการอ่านเวลาทั่วไป เช่น
20.00 = twenty hundred
03.05 = oh three oh five / zero three zero five
00.35 = midnight thirty-five

การบอกเวลา

จะบอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างไร
ในภาษาอังกฤษ, โดยปกติจะใช้การบอกเวลาเป็นแบบ 12 ชั่วโมงการบอกเวลาเป็นแบบ ชั่วโมง ใช้สำหรับตารางเวลาการเดินทางเท่านั้น

Asking the time - การถามเวลา

what's the time?ตอนนี้เวลาอะไร?
what time is it?ตอนนี้เวลาอะไร?
could you tell me the time, please?กรุณาบอกเวลาขณะนี้แก่ฉัน?
do you happen to have the time?ท่านบอกเวลาขณะนี้ได้ไหม?
do you know what time it is?ท่านทราบไหมว่าขณะนี้เวลาอะไร?

Telling the time - การบอกเวลา


five to twoอีกห้านาทีจะสองนาฬิกา
ten to twoอีกสิบนาทีจะสองนาฬิกา
twenty to twoอีกยี่สิบนาทีจะสองนาฬิกา
twenty-five to twoอีกยี่สิบห้านาทีจะสองนาฬิกา
ten fifteenสิบนาฬิกาสิบห้านาที
ten thirtyสิบนาฬิกาสามสิบนาที
ten forty-fiveสิบนาฬิกาสี่สิบห้านาที
ten amสิบโมงเช้า
six pmหกโมงเย็น
noon, middayเที่ยงวัน
midnightเที่ยงคืน

เป็นไปได้เช่นกันที่จะบอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษโดยการบอกเป็นชั่วโมง ตามด้วยนาที, ตามด้วย am หรือ pm ถ้าจำเป็น เช่น
11.47amสิบเอ็ดโมงสี่สิบเจ็ดนาที
2.13pmบ่ายสองโมงสิบสามนาที

Clocks - นาฬิกา

my watch is ...นาฬิกาของฉัน ...
fastเดินเร็ว
slowเดินช้า
that clock's a little ...นาฬิกานั่น ... นิดหน่อย
fastเดินเร็ว
slow                              เดินช้า  





ต้องการศึกษาคลิปสอนการบอกเวลาในภาษาอังกฤษ คลิกที่นี้







วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

How do you feel today?

How do you feel today?
“Emotions” – Which one best describes you?
  Today I feel... วันนี้ฉันรู้สึก...
 Exhausted : อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
 Confused : สับสน 
 Shocked :  ตกใจกลัว
Guilty : รู้สึกผิด
 Suspicious : หวาดระแวง / ขี้สงสัย
 Bored : เบื่อ
 Hysterical : เป็นประสาท
 Frustrated : สิ้นหวัง 

 In love : กำลังมีความรัก
 Jealous : อิจฉา / ริษยา
 Today I feel good about talking with you... วันนี้ฉันรู้สึกดีที่ได้พูดคุยกับคุณ ^^
 Surprised : ประหลาดใจ
 Hopeful : เต็มไปด้วยความหวัง
 Shy : เขินอาย

การแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ

การแนะนําตัวเป็นภาษาอังกฤษ

Non-formal way (ไม่เป็นทางการ) เราอาจจะพูดเพียงแค่คำว่า “Hello” หรือ “Hi” ตามด้วยการแนะนำตัวเอง เช่น “Hi, my name is Jew.” โดยอีกฝ่ายมักจะตอบกลับโดยระบุชื่อเรา เช่น “Hi, Jew. I’m Sarah.” หรือ อาจจะพูดว่า “Hello, Jew! Pleasure to meet you.” ก็ได้ ตามด้วยการเริ่มบทสนทนา โดยอาจเริ่มต้นด้วยการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบต่างๆ เช่น “How are you today?” และอื่นๆ
*หากเราต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นแบบกันเอง โดยไม่อยากที่จะใช้ชื่อจริงคุยกัน ก็อาจจะแนะนำชื่อเล่นของเราไปเลย หรือ อาจจะใช้วิธีการแนะนำชื่อจริงแล้วตามด้วยชื่อเล่นของเราก็ได้ เช่น “Hi, my name is Jew, but you can call me Dek-Eng.” หรือ อาจจะพูดว่า "Hi, my name is Jew, but all my friends all call me Dek-Eng."
Formal way (ทางการ) ในการแนะนำตัวแบบเป็นทางการนั้น เราจะต้องใช้ประโยคทำความรู้จัก แนะนำชื่อ และ ตามด้วยการแนะนำตัวสั้นๆว่าเราเป็นใคร หรือ มาจากไหน
"May I / I'd like to introduce myself. I'm Jew, from Dek-Eng.com."

“Nice to meet you. My name is Jew, from Dek-Eng.com.”

หรือ “My name is Jew, from Dek-Eng.com. Nice to meet you.”
*สำหรับการแนะนำตัวส่วนใหญ่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบ Formal หรือ Non-formal ก็มักจะควบคู่ไปกับการจับมือทักทายกัน หรือ การทักทายตามวัฒนธรรมต่างๆ เสมอ ซึ่งเพื่อนๆสามารถศึกษาต่อได้ใน ….
ประโยคแนะนำตัวที่เรานิยมใช้กันในชีวิตประจำวัน ได้แก่

(It’s) Nice/Good/Great to meet you.
(It’s) Nice/Good/Great to see you.
(I’m) Pleased to meet you
It’s a pleasure to meet you
(I'm) Delighted to meet you
(I’m) Glad to meet you
(It’s) Nice to meet you / (It’s) Nice meeting you
How do you do?
 
ประโยคที่ใช้ในการทักทายตอบ ได้แก่

Nice/Good/Great to meet you too.
The pleasure is mine
Pleasure / My pleasure
Likewise
Same here
Same to you